หัวข้อ   “เปรียบเทียบนโยบาย 2 พรรคใหญ่ พรรคใดเป็นต่อ? ทำได้ทำไม่ได้?”
    คำชี้แจง :   รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้  เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัว
                    ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัด
                    อยู่แต่อย่างใด

 
                 นักเศรษฐศาสตร์มองนโยบายหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์เหนือกว่า
พรรคเพื่อไทย
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกตั้งให้กับประชาชน การสำรวจความ
คิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำเดือนนี้
  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง“เปรียบเทียบนโยบาย 2 พรรคใหญ่ พรรคใดเป็นต่อ?
ทำได้ทำไม่ได้?”
  โดยสำรวจความคิดเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงาน
ด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 26 แห่ง จำนวน 73 คน พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ประเมินนโยบายหาเสียงเชิงเปรียบเทียบ (นโยบายที่มีความ
คล้ายคลึงกัน) ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย จำนวน 9 นโยบาย พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ให้นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์เหนือกว่าพรรคเพื่อไทยจำนวน
7 นโยบาย   ส่วนนโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าพรรคเพื่อไทยเหนือกว่ามี 1
นโยบาย  คือ นโยบายปราบยาเสพติดให้หมดไปภายใน 12 เดือน
  ขณะที่นโยบาย
ขยายบรอดแบนด์แห่งชาติ 3G อินเทอร์เน็ตชุมชนสู่ทุกตำบลทั่วประเทศภายใน 4 ปี ของ
พรรคประชาธิปัตย์ กับ นโยบาย Free WIFI เล่น Internet ในที่สาธารณะของพรรคเพื่อไทย
นั้น  นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าเป็นนโยบายที่ดีพอๆ กัน
 
                 สำหรับการนำนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติว่านโยบายใดทำได้ นโยบายใดทำไม่ได้ พบว่า นโยบายของ
พรรคประชาธิปัตย์ 9 นโยบาย มี 7 นโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าทำได้จริง
  ขณะที่อีก 2 คือนโยบายจัดการ
ปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาด จัดตั้งกองกำลังพิเศษ 2,500 นาย   และนโยบายขยายบรอดแบนด์แห่งชาติ 3G
อินเทอร์เน็ตชุมชน สู่ทุกตำบลทั่วประเทศภายใน 4 ปี เป็นนโยบายที่เชื่อว่าไม่สามารถทำได้จริง ในส่วนของพรรค
เพื่อไทย 9 นโยบาย มี 5 นโยบายที่เชื่อว่าทำได้จริง
  ขณะที่อีก 4 นโยบายเชื่อว่าไม่สามารถทำได้จริงคือ
นโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท   นโยบายปราบยาเสพติดให้หมดไปภายใน 12 เดือน   นโยบายทำรถไฟ
ความเร็วสูงไปเชียงใหม่ โคราช ระยองและขยายแอร์พอร์ตลิงส์ ไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพัทยา   นโยบายขยายรถไฟฟ้า
ให้ครบทั้ง 10 สาย แต่ละสายเก็บ 20 บาท
 
                 ส่วนนโยบายที่น่าสนใจอื่นๆ ของทั้ง 2 พรรค ซึ่งเลือกมาพรรคละ 3 นโยบายพบว่า นักเศรษฐศาสตร์มอง
ว่านโยบายของพรรคประชาธิปัตย์เป็นโยบายที่ดีทั้ง 3 นโยบาย ขณะที่นโยบายของพรรคเพื่อไทยเป็นนโยบาย
ที่ดี 2 นโยบายและเป็นนโยบายที่แย่ 1 นโยบาย คือเครดิตการ์ดพลังงาน เพื่อเติมน้ำมันหรือก๊าซ NGV
สำหรับคนขับแท็กซี่ สามล้อ รถตู้ และมอเตอร์ไซต์รับจ้าง
 
                 จากที่กล่าวมาพบว่า นโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นนโยบายที่ดีที่สุดและสามารถทำได้จริง
มี 2 นโยบายที่มีเปอร์เซ็นต์เท่ากัน คือ นโยบายเชื่อม กทม.-ปริมณฑล (นนทบุรี-ปทุมธานี-สมุทรปราการ) ด้วย
รถไฟฟ้าระยะทาง 166 กม. ภายใน 5 ปี   และนโยบายจัดให้มีบำนาญประชาชนหลังอายุ 60 ปี  โดยรัฐร่วม
สมทบในกองทุนการออมแห่งชาติ ของพรรคประชาธิปัตย์   ส่วนนโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นนโยบาย
ที่แย่มากที่สุดและไม่สามารถทำได้จริง คือ โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร หรือเครดิตการ์ดชาวนา  ควบคู่กับ
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าเกวียนละ 15,000 บาท/ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท ของพรรค
เพื่อไทย
 
                 ตาราง : สรุปความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์เปรียบกับพรรคเพื่อไทย
 
พรรคประชาธิปัตย์
พรรคเพื่อไทย
นโยบายที่ ดี-ดีเยี่ยม
12 นโยบาย
9 นโยบาย
นโยบายที่ แย่-แย่มาก
ไม่มี
3 นโยบาย
นโยบายที่ ทำได้
10 นโยบาย
7 นโยบาย
นโยบายที่ ทำไม่ได้
2 นโยบาย
5 นโยบาย

            สำหรับข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบายต่อรัฐบาลชุดใหม่ นักเศรษฐศาสตร์ได้เสนอ 4 นโยบายที่สำคัญ
ด้วยกันคือ
 

          (1) นโยบายปราบปรามคอร์รัปชันอย่างจริงจัง

 

          (2) นโยบายปฎิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายด้านแรงงานของชาติ

 

          (3) นโยบายพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกร

 

          (4) นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ

 
                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
       ตารางที่ 1   เปรียบเทียบนโยบายหาเสียงของ 2 พรรคใหญ่ (ประชาธิปัตย์ VS เพื่อไทย)

พรรค
นโยบายเศรษฐกิจ
(พิจารณาในแง่ผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจภาพรวม)
เป็นนโยบายที่
ไม่ตอบ
/
ไม่แน่ใจ
การปฏิบัติ
ไม่ตอบ
/
ไม่แน่ใจ
ดี
-
ดีเยี่ยม
แย่
-
แย่มาก
คาดว่า
ทำได้
คาดว่า
ทำไม่ได้
ปชป
1. ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 ในเวลา 2 ปี
    พร้อมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
74.0
23.3
2.7
56.2
31.5
12.3
พท
2. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท
    (โดยลดภาษีนิติบุคคลจากร้อยละ 30
    เหลือร้อยละ 23 เพื่อชดเชยกับการแลก
    ให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ)
52.1
46.6
1.3
23.3
61.6
15.1
ปชป
3. เพิ่มกำไรอีกร้อยละ 25 จากโครงการ
    ประกันรายได้เกษตรกร (ชาวนา
    ชาวไร่ข้าวโพด ชาวไร่มันสัมปะหลัง)
72.6
24.7
2.7
52.1
27.4
20.5
พท
4. โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร หรือ
    เครดิตการ์ดชาวนา ควบคู่กับโครงการ
    รับจำนำข้าวเปลือกเจ้าเกวียนละ
    15,000 บาท/ข้าวหอมมะลิเกวียนละ
    20,000 บาท
37.0
58.9
4.1
43.8
38.4
17.8
ปชป
5. ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบเพื่อลด
    ภาระดอกเบี้ยและสร้างโอกาสใหม่
    แก่ชีวิตของประชาชนให้ครบ 1 ล้านคน
79.5
17.8
2.7
64.4
20.5
15.1
พท
6. พักหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้ไม่เกิน
    5 แสนบาท ไม่น้อยกว่า 3 ปี สำหรับ
    ผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาทแต่ไม่เกิน
    1 ล้านบาท ให้ปรับโครงสร้างหนี้
46.6
50.7
2.7
56.2
23.3
20.5
ปชป
7. บัตรประชาชนใบเดียว รักษาฟรี
    อย่างมีคุณภาพ
91.8
8.2
0.0
65.8
34.2
0.0
พท
8. โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
    รักษาอย่างมีคุณภาพ
90.4
6.8
2.8
71.2
21.9
6.9
ปชป
9. จัดการปัญหายาเสพติดอย่าง
    เด็ดขาด จัดตั้งกองกำลังพิเศษ
    2,500 นาย
84.9
12.3
2.8
35.6
50.7
13.7
พท
10. ปราบยาเสพติดให้หมดไป
      ภายใน 12 เดือน
89.0
8.2
2.8
17.8
74.0
8.2
ปชป
11. ขยายบรอดแบนด์แห่งชาติ 3G
      อินเตอร์เน็ทชุมชน สู่ทุกตำบล
      ทั่วประเทศภายใน 4 ปี
89.0
8.2
2.8
42.5
46.6
10.9
พท
12. Free WIFI เล่น Internet
      ในที่สาธารณะ เช่นสถานศึกษา
      สถานที่ท่องเที่ยว โรงพยาบาล
      ฯลฯ
89.0
9.6
1.4
65.8
27.4
6.8
ปชป
13. สร้างแหลมฉบังให้เป็นเมืองท่าที่
      สมบูรณ์แบบ(Harbor city) พร้อม
      รถไฟความเร็วสูง เชื่อมกรุงเทพ
      แหลมฉบัง ระยอง และสร้าง
      เครือข่ายโลจิสติกส์
94.5
2.7
2.8
49.3
35.6
15.1
พท
14. ทำรถไฟความเร็วสูงไปเชียงใหม่
      ไปโคราช และไประยอง นอกจากนี้
      จะขยายแอร์พอร์ตลิงส์ ไปฉะเชิงเทรา
      ชลบุรี และพัทยา
90.4
8.2
1.4
39.7
45.2
15.1
ปชป
15. เชื่อม กทม.-ปริมณฑล (นนทบุรี-
      ปทุมธานี-สมุทรปราการ) ด้วย
      รถไฟฟ้าระยะทาง 166 กม. ภายใน
      5 ปี
95.9
1.4
2.7
56.2
34.2
9.6
พท
16. ขยายรถไฟฟ้าให้ครบทั้ง 10 สาย
      แต่ละสายเก็บ 20 บาท
87.7
9.6
2.7
26.0
61.6
12.4
ปชป
17. เพิ่มเงินทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำเพื่อการ
      ศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 250,000
      คน
90.4
8.2
1.4
75.3
11.0
13.7
พท
18. ใช้ระบบเรียนก่อน ผ่อนทีหลัง
      (กองทุนให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ใน
      อนาคต (ICL))
80.8
16.4
2.8
58.9
23.3
17.8
 
 
       ตารางที่ 2   นโยบายหาเสียงที่น่าสนใจอื่นๆ ของ 2 พรรคใหญ่ (ประชาธิปัตย์ VS เพื่อไทย)

พรรค
นโยบายเศรษฐกิจ
(พิจารณาในแง่ผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจภาพรวม)
เป็นนโยบายที่
ไม่ตอบ
/
ไม่แน่ใจ
การปฏิบัติ
ไม่ตอบ
/
ไม่แน่ใจ
ดี
-
ดีเยี่ยม
แย่
-
แย่มาก
คาดว่า
ทำได้
คาดว่า
ทำไม่ได้
ปชป
1. ขยายประกันสังคมสำหรับเกษตรกร
    และแรงงานนอกระบบให้ครอบคลุม
    25 ล้านคนเพื่อรับเงินชดเชยรายได้
    เมื่อเจ็บป่วย เสียชีวิต และบำเหน็จ
    ชราภาพ
94.5
5.5
0.0
52.1
28.8
19.1
ปชป
2.จัดให้มีบำนาญประชาชนหลังอายุ
    60 ปี โดยรัฐร่วมสมทบในกองทุน
    การออมแห่งชาติ
95.9
4.1
0.0
64.4
20.5
15.1
ปชป
3. รถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน เชื่อม
    คุณหมิง ภาคอีสาน สู่ภาคใต้ ต่อไปยัง
    มาเลเซีย เพื่อพัฒนาการค้า การลงทุน
    และการท่องเที่ยว
91.8
5.5
2.7
45.2
37.0
17.8
พท
4. ทำเขื่อนกั้นน้ำทะเลลึกลงไปในทะเล
    ห่างฝั่งประมาณ 10 กม. โดยไม่ต้องกู้
68.5
27.4
4.1
19.2
64.4
16.4
พท
5. คืนภาษีและเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีให้
    กับ ผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก เช่น ภาษี
    ค่าโอน และยังเพิ่มค่าลดหย่อนเป็น
    5 แสนบาท
79.5
19.2
1.3
67.1
17.8
15.1
พท
6. เครดิตการ์ดพลังงาน เพื่อเติมน้ำมัน
    หรือก๊าซ NGV สำหรับคนขับแท๊กซี่
    สามล้อ รถตู้ และมอเตอร์ไซต์รับจ้าง
43.8
52.1
4.1
43.8
38.4
17.8
 
 
ข้อเสนอนโยบายต่อรัฐบาลชุดใหม่
      1. นโยบายปราบปรามคอร์รับชันอย่างจริงจัง
      2. นโยบายปฎิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายด้านแรงงานของชาติ
      3. นโยบายพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกร
      4. นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ
      5. นโยบายอื่นๆ เช่น นโยบายดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อรองรับกับสังคมผู้สูงอายุ) นโยบายพัฒนาการขนส่ง
          ระบบราง การกระจายรายได้ และการสร้างความปรองดอง
             ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับแหล่งที่มาของงบประมาณที่จะใช้ในโครงการต่างๆ
      ว่าจะมาจากที่ใด และจะเป็นภาระด้านการคลังมากไปหรือไม่
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
                      โดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชน
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
               จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
               ด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 26 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการ
               พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   บริษัททริสเรทติ้ง   ธนาคารเพื่อการส่งออก
               และนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารไทยพาณิชย์   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
               ธนาคารนครหลวงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ
               บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
               คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น   และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัย
               มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 13 - 20 มิถุนายน 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 มิถุนายน 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
31
42.5
             หน่วยงานภาคเอกชน
24
32.9
             สถาบันการศึกษา
18
24.6
รวม
73
100.0
เพศ:    
             ชาย
37
50.7
             หญิง
36
49.3
รวม
73
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
27
37.0
             36 – 45 ปี
24
32.9
             46 ปีขึ้นไป
22
30.1
รวม
73
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
5.5
             ปริญญาโท
55
75.3
             ปริญญาเอก
14
19.2
รวม
73
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
14
19.2
             6 - 10 ปี
20
27.4
             11 - 15 ปี
11
15.1
             16 - 20 ปี
10
13.6
             ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
18
24.7
รวม
73
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776